การผ่าตัดกระเพาะอาหารมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาโรคอ้วน คนอ้วนนี้จะใช้ชีวิตยากลำบากและอาจมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ อัมพาต อัมพาต มะเร็งหลายรูปแบบ โรคตับ ภาวะมีบุตรยาก และอื่น ๆ อีกมากมาย
นอกจากการผ่าตัดกระเพาะเพื่อช่วยควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วนแล้ว ยังช่วยควบคุมน้ำหนักในระยะยาวเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดการผ่าตัดไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเพื่อสุขภาพและคุณภาพที่ดีขึ้นด้วย ในการผ่าตัดผ่านกล้องคือการลดขนาดของกระเพาะอาหาร จึงช่วยจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทานและทำให้ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักมีรูปร่างที่ดี อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินสามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
สามารถออกกำลังกายได้สบายขึ้น ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมีสุขภาพที่ดีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครล้อเลียนเรื่องน้ำหนัก วันนี้เรามีวิธีการผ่าตัดกระเพราะมาแนะนำพร้อมการปฏิบัติตัวเองหลังการผ่าตัดว่าควรทำอย่างไรแล้วใครที่เข้าข่ายรับการผ่าตัดกระเพาะบ้างเราไปดูรายละเอียดพร้อม ๆ กันเลย
ผู้ที่เข้าข่ายต้องเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะ
- เป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงพอที่จะดมยาสลบได้
- เป็นโรคอ้วนและมีดัชนีมวลกายที่สูงขึ้นมากกว่า 40 ขึ้นไป
- มีค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 30 ถึง 40 แต่มีภาวะที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เช่น เบาหวานประเภทที่ 2 หรือความดันโลหิตสูง
- เป็นคนอ้วนที่พยายามลดน้ำหนักหลายวิธีแต่ไม่ได้ผล พยายามอดอาหาร ออกกำลังกาย และใช้ยา
- เพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหาร จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด เพื่อให้การรักษาได้ผล ควรทำดังนี้
การเตรียมก่อนผ่าตัด
- คนไข้ที่เข้ารับการผ่าตัดจะต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น การตรวจเลือด อัลตร้าซาวด์ เอ็กซ์เรย์ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสอบการทำงานของปอด เป็นต้น
- แพทย์จะทำการล้างกระเพาะก่อนการผ่าตัดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติในกระเพาะอาหาร
- จะต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการจากนักโภชนาการอาหาร จะมีการประเมินและปรับอาหารหลังการผ่าตัด
- นักจิตวิทยาจะทำการทดสอบสภาพจิตใจ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติทางจิตเวชสำคัญที่ห้ามการผ่าตัด เตรียมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังผ่าตัด
- เพื่อป้องกันผลที่ตามมา จะต้องประเมินภาวะเสี่ยงก่อนการผ่าตัด เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- จำเป็นต้องมีการทดสอบการนอนหลับ STOP-BANG และการทดสอบการนอนหลับเพื่อวินิจฉัยการนอนหลับ
- ต้องเรียนรู้การออกกำลังกายอย่างถูกต้องก่อนและหลังการผ่าตัดกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- 4 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด คุณควรงดการสูบบุหรี่
- คุณต้องงดอาหารและน้ำเป็นเวลาหกถึงแปดชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
- คุณต้องหยุดทานอาหารเสริมและยาบางชนิด เช่น แอสไพริน วิตามินอี น้ำมันตับปลาก่อนการผ่าตัด
- คนไข้ทุกรายจะได้รับการฉีดลิ่มเลือดอุดตัน 12 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
การผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนักมีกี่วิธี ?
การผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนักมีมากมายหลายวิธี ปัจจุบันมีวิธีการผ่าตัดที่ได้รับความนิยม 4 วิธีดังนี้
1. การใส่บอลลูนในกระเพาะ
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารไม่ถือเป็นการผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมอาหารได้ และผู้ที่เสี่ยงต่อการผ่าตัดไม่ได้ การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจึงเป็นวิธีการเตรียมตัวสำหรับการผ่าตัดในขั้นตอนต่อไป เพราะการใส่บอลลูนจะช่วยให้รู้สึกอิ่ม กินน้อยลง เมื่อได้ผลลัพธ์ที่ต้องการแล้ว คนไข้สามารถถอดบอลลูนออกได้
วิธีการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- วิสัญญีแพทย์จะฉีดยานอนหลับให้คนไข้
- มีการฉีดยาชาที่คอของคนไข้เพื่อป้องกันไม่ให้รู้สึกคลื่นไส้และบอลลูนถูกขับออกระหว่างการรักษา
- ศัลยแพทย์สอดบอลลูนซิลิโคนเข้าไปในปาก
- เมื่อบอลลูนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แพทย์จะฉีดน้ำเกลือผสมสีประมาณ 350-700 ซีซี
- ด้วยขั้นตอนที่ไม่ผ่าตัด เป็นวิธีการคล้ายกับวิธีการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารทั่วไป ดังนั้นวิธีการสอดบอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารโดยไม่มีบาดแผล สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าวิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบอื่น ที่สำคัญสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงทันทีหลังการรักษา
ผลข้างเคียงหลังใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
คนไข้อาจมีอาการคลื่นไส้หลังจาก 5-8 ชั่วโมง เพราะร่างกายต้องการม้วนบอลลูนออกมา อาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นในช่วง 3-4 วันแรก หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนกลับมาเป็นปกติ
ข้อดี-ข้อเสียของการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
ข้อดี
- ความเสี่ยงในการทำต่ำมาก
- คนไข้ไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล
- คนไข้จะรู้สึกอิ่มเร็วและนานกว่าปกติ
- ขั้นตอนไม่เจ็บปวดและไม่มีบาดแผล
ข้อเสีย
- เมื่อน้ำหนักลดลงเป็นระยะเวลา 4-6 เดือน มีโอกาสที่จะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการเติมน้ำเกลืออีกครั้งจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายหลายครั้ง
- การใส่บอลลูนอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- เลือดออกในกระเพาะอาหารอาจเกิดขึ้น
- อาจเกิดการอุดตันทางเดินอาหาร
2. การใส่ห่วงรัดกระเพาะ
การใส่ห่วงรัดในกระเพาะอาหาร เป็นอีกวิธีหนึ่งในการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก โดยผ่านเครื่องมือผ่ากรีดช่องท้องเล็กน้อย เพื่อนำห่วงเข้าไปรัดส่วนบนของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอิ่มเร็ว การกินน้อยลงทำให้น้ำหนักลดลงได้เช่นกัน
ข้อดีของการใส่ห่วงรัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก
- เจ็บเล็กน้อย
- แผลจะมีขนาดเล็ก
- พักฟื้นเพียง 1 คืน
- ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน
- สามารถปรับขนาดได้ตามต้องการ
- ห่วงที่ยึดกรเพาะสามารถถอดออกได้ โดยที่กระเพาะอาหารกลับมาเป็นปกติและยังคงสภาพเดิม เนื่องจากไม่ใช่ขั้นตอนการผ่าตัด อวัยวะภายในไม่เสียหาย
ข้อเสียของการใส่ห่วงรัดกระเพาะเพื่อการลดน้ำหนัก
- ห่วงอาจจะหลุดหรือเลื่อนตัวได้
- ถ้าห่วงหลวมเกินไปก็จะกลับมากินได้ตามปกติ
- ถ้าห่วงเล็กเกินไปก็จะทำให้กินน้อยลงและอาเจียนได้
- เป็นการผ่าตัดที่แพงที่สุด เนื่องจากต้องเช็คและปรับห่วงบ่อย
- เนื่องจากห่วงมีขนาดเล็กทำให้ต้องรับประทานของเหลวเป็นหลัก
- ผู้ป่วยอาจเรียนรู้วิธีการกินสิ่งที่พวกเขาชอบ หรืออ้วนขึ้นจากการกินแอลกอฮอล์ การปรับขนาดห้วงให้เหมาะสมอาจทำได้ยาก
จากข้อเสียดังกล่าว การผ่าตัดใส่ห่วงรัดกระเพาะ ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากปัจจัยภายนอกหลายอย่าง ส่งผลให้สถาบันการแพทย์หลายแห่งไม่แนะนำให้ห่วรัดกระเพาะ
3. การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ
การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy – LSG) ออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนมากไม่สามารถทำการผ่าตัดลดน้ำหนักแบบบายพาสได้ ดังนั้นการผ่าตัดแบบสลีฟจึงมีความจำเป็น เพื่อลดน้ำหนักก่อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่พอใจกับผลการผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหารแบบสลีฟเป็นอย่างมาก
การผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ เป็นการผ่าตัดเพื่อเอากระเพาะอาหารออกประมาณ 80% ซึ่งรวมถึงส่วนที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยที่ผ่าตัดรับประทานอาหารได้น้อยลง สามารถลดน้ำหนักได้ถึง 40-60% ของน้ำหนักเดิม นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิตสูง และการหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย
ดังนั้นการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ จึงได้รับการอนุมัติจากสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งทั่วโลก เป็นการรักษาทางเลือกสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน การผ่าตัดกระเพาะอาหารสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี
วิธีการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ
ศัลยแพทย์จะใช้กล้องส่องผ่านแผลเล็ก ๆ 3-5 แผลในช่องท้อง จากนั้นศัลยแพทย์จะใช้ตัวตัดกระเพาะอัตโนมัติ (stapler) ตัดกระเพาะแล้วเย็บกระเพาะในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นเครื่องมือพิเศษนำเข้าจากอเมริกา จากนั้นประมาณ 80% ของกระเพาะอาหารจะถูกดึงผ่านแผลรอบสะดือ โดยกระเพาะที่เหลืออยู่จะมีขนาดเหลือประมาณ 100-150 ซีซีเท่านั้น
ระยะเวลาในการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ
การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงและใช้เวลาประมาณ 3-4 วันจึงจะฟื้นตัวได้อย่างปลอดภัย คนไข้จะได้รับการตรวจสแกนกระเพาะอาหารเพื่อตรวจดูความเรียบร้อยและยืนยันว่าไม่มีแผลผ่าตัดที่ท้องก่อนกลับบ้าน
ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ
- รู้สึกหิวน้อยลงเนื่องจากการผ่าตัดส่วนที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมความหิว
- ลดน้ำหนักอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคเรื้อรังที่เกิดจากโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- หลังจากช่วงการปรับตัวผู้ป่วยจะสามารถกลับไปรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่จะกินน้อยลงมาก
ข้อเสียของการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบสลีฟ
- ไม่สามารถทำได้กับคนที่เป็นกรดไหลย้อน
- ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เคยทำศัลยกรรมลดขนาดกระเพาะแบบใส่หวงมาก่อน หากคุณเคยผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบใส่ห่วง คุณต้องทำการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักแบบบายพาสเท่านั้น
- ความเสี่ยงของการผ่าตัดมีมากขึ้น หากแพทย์ไม่ชำนาญเพียงพอหรือผู้ป่วยมีน้ำหนักเกินโดยไม่ได้เตรียมตัวก่อนทำการผ่าตัด
- หลังผ่าตัดใหม่ 2 สัปดาห์แรกต้องกินแต่ของเหลวก่อน หากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ตามข่าวต่าง ๆ
4. การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส
การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Laparoscopic REY Byprass gastrectomy) หรือ Roux-en-Y gastric bypass (RYGB) คือ รูปแบบการผ่าตัดกระเพาะอาหารที่ได้มาตรฐานที่สุด จะเพิ่มการผ่าตัดลำไส้ที่ดูดซับน้ำตาลออกไป ทำให้ลดน้ำหนักได้มากและนาน อีกทั้งยังลดการเกิดแรงดันในกระเพาะอีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนหรือผู้ป่วยโรคที่ไม่สามารถผ่าตัดแบบสลีฟได้
วิธีการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบบายพาส
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะโดยวิธีบายพาสเหมือนกับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบสลีฟ แพทย์จะทำการสอดเครื่องมือเข้าไป ซึ่งจะทำการกรีดหน้าท้องของคุณเล็กน้อย ต่างจากการผ่าตัดแบบสลีฟที่มีรอยตัดและการเชื่อมต่อใหม่มากกว่า โดยการตัดกระเพาะ เชื่อมกับลำไส้ที่สอง ข้าม (บายพาส) ลำไส้ส่วนแรกไป
ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบบายพาส
- สามารถลดน้ำหนักได้มากที่สุด
- ความรู้สึกหิวลดลงจนไม่มีเลย
- สามารถรักษาโรคเบาหวานได้ในกรณีที่พึ่งเป็นได้ไม่นาน
- เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในกรณีที่การผ่าตัดประเภทอื่นไม่ได้ผล
- ไม่ต้องผ่าตัดดูดไขมัน
ข้อเสียของการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบบายพาส
- เป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างซับซ้อน การเชื่อมต่อแบบหลายจุดใช้เวลานานขึ้น
- หากแพทย์ไม่มีฝีมือเพียงพอ อาจมีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
- พบปัญหาบางอย่างในการดูดซับสารอาหาร (ต้องแก้ไขด้วยการทานวิตามินหรืออาหารเสริมตามคำแนะนำของแพทย์)
- มีราคาแพงที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบอื่น
- การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดกระเพาะอาหารทำอย่างไร ?
- หยุดกินทันทีที่รู้สึกอิ่ม
- เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ควรดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหารด้วยการจิบเล็กน้อย
- ไม่ดื่มน้ำอัดลม กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำหวาน
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและไขมัน
- เน้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อไม่ติดมัน
- คุณควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์
การผ่าตัดกระเพาะเหมาะสำหรับคนอ้วนที่ต้องการดูแลตัวเองให้แข็งแรงและมีบุคลิกภาพที่ดี เพื่อให้คุณปลอดภัยจากโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน และการผ่าตัดควบคุมน้ำหนักในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา หากใครที่ต้องการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักสามารถเข้ามารับการผ่าตัดได้ที่รัตตินันท์คลินิกของเราได้
คลินิกของเราผ่าตัดกระเพาะ ราคาขึ้นอยู่กับวิธีการผ่าตัดที่แพทย์จะใช้ เรามีวิธีการผ่าตัดต่าง ๆ มากมาย แต่แพทย์จะพิจารณาผู้ป่วยว่าควรใช้วิธีไหนในการผ่าตัดนั่นเอง สนใจหรือต้องการสอบถามก่อนการผ่าตัดสามารถเข้ามาขอคำปรึกษาจากทางเราได้เลย ทางเราให้คำปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย