ผ่าตัดกระเพาะ ช่วยทำให้ผอมลงได้จริงหรือ ?

ผ่าตัดกระเพาะ

สำหรับคนอ้วนนั้นหลายคนก็อยากผอม พยายามที่จะหนทางที่จะทำให้ตัวเองมีหุ่นที่ดี แต่จะมีวิธีไหนที่เป็นทางลัดได้ดีเท่ากับการทำศัลยกรรม ซึ่งยุคนี้การผ่าตัดแก้ไขโรคอ้วนถือเป็นหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้เข้ารับบริการมีหุ่นที่ดีได้ และไม่ใช่ช่วยในเรื่องของด้านร่างกายเท่านั้น ยังช่วยในเรื่องของการรักษาโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคอ้วนได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ อัมพาต มะเร็ง โรคตับ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ยังรวมไปถึงช่วยควบคุมน้ำหนักในระยะยาวเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด  ในส่วนของการผ่าตัดกระเพาะนั้นจะไม่เป็นเพียงเพื่อความงามเท่านั้น ยังเป็นการรักษาสุขภาพเพื่อให้ผู้เข้ารับบริการนั้นมีสุขภาพที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตสบายขึ้น ไปไหนมาไหนได้สะดวกขึ้น เป็นการลดความเสี่ยงจากการเจ็บไข้ได้ป่วยที่มาจากน้ำหนักเกินได้ดียิ่งขึ้น

ในส่วนของการผ่าตัดประเภทนี้นั้นบอกได้เลยว่ามีมานานกว่า 20 ปีแล้ว ได้รับการยอมรับจากในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งการผ่าตัดในยุคก่อนนั้นจะเป็นการนำเอาลำไส้ส่วนบนมาเชื่อมกับลำไส้ส่วนล่าง เป็นการบังคับไม่ให้อาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นมีการย่อยหรือถูกดูดซึมมากนัก แต่จะให้เป็นการขับถ่ายออกไปได้เลย แต่ยังเก็บกระเพาะเอาไว้ทำให้รับประทานอาหารได้อิ่มเหมือนเดิม แต่จะไม่ดูดซึม

เมื่อไม่ดูดซึมก็จะทำให้น้ำหนักนั้นลดลงนั่นเอง แต่วงการแพทย์ไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้นได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาสหรือที่เรียกว่า Roux-en-Y เป็นการผ่าตัดลดความอ้วนที่วงการแพทย์มักจะเรียกสั้น ๆ ว่า “ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส” นั่นเอง

ใครที่เหมาะกับการผ่าตัดกระเพาะ เพื่อลดความอ้วน ?

  • เหมาะกับผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน ที่มีดัชนีมวลกายสูงกว่า 32.5 กก./ตรม. ขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่พยายามลดน้ำหนักด้วยตัวเองแล้ว แต่ทำไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหารหรือแม้กระทั่งพยายามออกกำลังกายแล้วแต่ก็ไม่ได้ผล
  • ต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้มีข้อห้ามในการผ่าตัด และไม่ใช่ผู้ป่วยทางจิตเวช ที่หลังผ่าตัดไม่สามารถดูแลตัวเองได้

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ราคา

ภาวะอ้วน มีวิธีวัดอย่างไร ?

การประเมินโรคอ้วนอย่างง่ายคือการวัดเส้นรอบวงท้องผ่านสะดือ ในผู้ชาย หากมีเส้นรอบวงมากกว่า 90 เซนติเมตร (35 นิ้ว) ผู้หญิง ถ้ามีเส้นรอบวงมากกว่า 80 เซนติเมตร (31.5 นิ้ว) ถ้ามีโรคเบาหวาน ความดัน หรือไขมันสูงร่วมอยู่ด้วย ถือว่ามีความเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา เนื่องจากเราเรียกภาวะนี้ว่าภาวะอ้วนลงพุง กลุ่มอาการเมตาบอลิซึมซึ่งมีโอกาสทุพพลภาพ เสียชีวิตค่อนข้างสูง

แต่หากเป็นด้านการแพทย์จะต้องใช้ค่ามาตรฐานในการวัดโรคอ้วน ดัชนีมวลกาย (BMI) คำนวณโดยการหารน้ำหนัก (กก.) ด้วยส่วนสูง (ม.) กำลังสอง เช่น หนัก 90 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร ค่า IBM คำนวณได้ คือ (90 / (1.6 x 1.6)) จะได้ BMI = 35.15 กก./ตร.ม. ถ้าค่าดัชนีมวลกายของคุณมากกว่า 27.5 กก./ตร.ม. ถือว่ามีภาวะโรคอ้วน

หากมีความเสี่ยงสูง ควรปรึกษาทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการลดน้ำหนักด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การใส่บอลลูน หรือ การฉีดลดน้ำหนัก แต่ถ้า BMI มากกว่า 32.5 กก./ตร.ม. ถือว่ามีความเสี่ยงสูง แนะนำให้คนไข้เริ่มด้วยการพิจารณาเรื่องการผ่าตัดลดน้ำหนักเพื่อให้ตัวเองเกิดความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน

การผ่าตัดกระเพาะ เพื่อลดน้ำหนักมีวิธีใดบ้าง ได้รับความนิยม

การใส่ห่วงรัดกระเพาะ

การใส่ห่วงรัดกระเพาะ เป็นการใช้เครื่องมือผ่านแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง 3 – 4 แผล แล้วนำห่วงไปคล้องเพื่อรัดบริเวณส่วนบนของกระเพาะอาหาร ซึ่งจะไม่ตัดอะไรออกเลย ทำให้อาหารที่ถูกรับประทานเข้าไปนั้นถูกเก็บเอาไว้ ส่งผลให้อิ่มเร็ว รับประทานได้น้อยลง ทำให้น้ำหนักลด ห่วงเชื่อมต่อกับท่อขนาดเล็ก เกาะติดกับผิวหนังเพื่อปรับขนาดได้หากต้องการให้รัดแน่นขึ้นหรือคลายออก ปัจจุบันนี้การผ่าตัดในรูปแบบนี้ได้รับความนิยมน้อยลง เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของห่วงรัด เมื่อทำการผ่าตัดไปแล้วน้ำหนักก็ไม่ได้ลดลงมาก

การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส

การผ่าตัดกระเพาะในรูปแบบนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผลมากที่สุด โดยจะใช้เทคนิคการส่องกล้องผ่าตัดแบบแผลเล็ก แต่จะเพิ่มการตัดลำไส้ส่วนที่ดูดซึมน้ำตาออกบางส่วน เพื่อให้ลดน้ำหนักได้มากและนาน การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับผู้เข้ารับบริการที่เป็นโรคกรดไหลย้อน เบาหวาน

การผ่าตัดแบบเย็บกระเพาะ

สำหรับการผ่าตัดแบบเย็บกระเพาะนี้ถือได้ว่าเป็นเทคนิคใหม่ที่วงการแพทย์เริ่มใช้ โดยแพทย์จะทำการส่องกล้องทางปากแล้วใช้อุปกรณ์สอดเข้าไปในปาก แล้วจะทำการเย็บกระเพาะด้วยไหมชนิดพิเศษ วิธีการนี้ถือได้ว่าเป็นการผ่าตัดที่ลดน้ำหนักได้ผลเลยทีเดียว อีกทั้งยังไม่มีแผลหน้าท้องให้เห็นอีกด้วย การฟื้นตัวจากการผ่าตัดนั้นก็เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน การหยุดหายใจขณะหลับ

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

แพทย์จะใช้วิธีการส่องกล้องเพื่อเข้าไปผ่าตัดให้กระเพาะอาหารให้เล็กลง โดยทำให้เป็นท่อยาว วิธีนี้สามารถลดน้ำหนักได้มากถึงร้อยละ 50 – 60 เลยทีเดียว

ผ่าตัดกระเพาะ ข้อเสีย

ผ่าตัดกระเพาะแบบไหนที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก

  • การผ่าตัดแบบสลีฟ (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy) โดยการผ่าตัดในรูปแบบนี้แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะให้เล็กลง เมื่อผ่าตัดเรียบร้อยแล้วขนาดกระเพาะที่แพทย์เหลือไว้จะคงเพียงพอกับความต้องการของร่างกายของผู้เข้ารับบริการ ซึ่งกระเพาะอาหารที่ตัดออกไปนั้นเป็นส่วนที่ผลิตฮอร์โมนให้เกิดความหิว เมื่อตัดออกไปแล้วจะช่วยทั้งในเรื่องของการลดปริมาณอาหารที่เข้าสู่ร่างกายและยังปรับฮอร์โมนการหิวได้อีกด้วย
  • การผ่าตัดแบบบายพาส (Laparoscopic Gastric Bypass) เป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะทำการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะร่วมกับการทำทางเบี่ยงทางเดินอาหาร การผ่าตัดในรูปแบบนี้ไม่มีการตัดส่วนใดออกจากร่างกาย แต่จะมีวิธีการที่มีขั้นตอนมาก ใช้เวลาในการผ่าตัดนาน แต่จะช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่า เนื่องจากเป็นการช่วยลดปริมาณแคลอรีเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ผอมได้เร็ว ยังเป็นการลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากโรคอ้วนได้ดีกว่า โดยเฉพาะเบาหวาน

ในการผ่าตัดกระเพาะ ข้อเสียนี้หลายคนอาจจะมองว่าแล้วในระยะยาวจะเป็นอย่างไร ซึ่งบอกตรงนี้เลยว่าหากกลัวว่าจะมีการขาดสารอาหารนั้น ไม่ขาดแน่นอน แต่อาจจะต้องมีการรับประทานวิตามิน แร่ธาตุบางตัวเพื่อเป็นการเสริมหลังผ่าตัด โดยน้ำหนักของผู้เข้ารับบริการนั้นจะจะลดลงเกือบสิบกิโลกรัมในช่วงแรก ซึ่งจะลดมากสุดเฉลี่ยแล้วประมาณ 50 – 80% ของน้ำหนักส่วนเกิน โดยจะลดต่ำสุดที่ประมาณ 6 เดือนถึงช่วงปีแรก หลังจากนั้นน้ำหนักจะขึ้นกว่าจุดที่ต่ำสุดได้เล็กน้อย แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้เข้ารับบริการด้วยว่าสามารถควบคุมพฤติกรรมในระยะยาวได้หรือไม่

สำหรับการผ่าตัดทั้ง 2 วิธีนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะเป็นการผ่าตัดด้วยกล้อง ซึ่งจะต้องมีการดมยาสลบ แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวได้ไว โดยการใช้เวลาผ่าตัดไม่เกิน 1 – 2 ชั่วโมงหากเป็นการทำด้วยวิธีสลีฟ และ 3 – 5 ชั่วโมง หากเป็นการผ่าตัดด้วยวิธีบายพาส ทั้ง 2 วิธีนี้จะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียงแค่ 2 – 3 วันเท่านั้นถึงจะกลับบ้านได้ หลายคนที่ต้องการเข้ารับบริการอาจจะมองในเรื่องของความเสี่ยงเมื่อเข้าใช้บริการ

ซึ่งบอกตรงนี้เลยว่ามีภาวะความเสี่ยงแทรกซ้อนค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 0 – 7% เท่านั้น โดยที่แพทย์เลือกวิธีการผ่าตัดแบบใดนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้รับการผ่าตัด หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดแล้วควรจะต้องพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวกับทางเดินอาหารใหม่ น้ำหนักที่ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยภาวะผิดปกติต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นระยะ ๆ

ผ่าตัดกระเพาะ pantip

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดกระเพาะ ต้องทำอย่างไร ?

  • ก่อนที่จะเข้ารับบริการนั้น จะต้องทำการตรวจร่างกายซึ่งแพทย์จะทำการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เพื่อให้มั่นใจว่ามีสุขภาพที่แข็งแรงพอที่จะเข้ารับการผ่าตัดได้
  • ในการเข้ารับการผ่าตัดนี้จะต้องมีการทดสอบสภาพจิตใจของผู้เข้ารับบริการด้วยว่ามีสภาพจิตใจที่พร้อมจะเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพหลังการผ่าตัดหรือไม่
  • แพทย์จะทำการประเมินว่าผู้เข้ารับบริการมีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด เพื่อที่จะได้แน่ใจว่าสามารถควบคุมได้ และเข้ารับการผ่าตัดได้
  • ในกรณีที่ผู้เข้ารับบริการสูบบุหรี่จะต้องทำการหยุดสูบก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เนื่องจากการสูบบุหรี่นี้จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ช้าอีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาต่าง ๆ ของภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
  • กรณีที่ไม่มั่นใจว่าตัวเองตั้งครรภ์หรือไม่ ควรแจ้งแพทย์และพยาบาลก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • ก่อนเข้ารับการผ่าตัดผู้เข้ารับบริการจะต้องงดน้ำ อาหารหลังเที่ยงคืน หากมียาที่ต้องรับประทานตามแพทย์สั่ง ให้รับประทานยาพร้อมกับจิบน้ำน้อย ๆ

หลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะต้องดูแลตัวเองอย่างไร ?

  • ปกติแล้วหลังเข้ารับการผ่าตัด ผู้เข้ารับบริการจะต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 3 วัน ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้เข้ารับบริการด้วย หากมีอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้องเข้ารับการผ่าตัดเพิ่ม และอาจจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น
  • การควบคุมอาหารเพื่อรักษาแผล ผ่าตัดกระเพาะนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก โดยจะได้รับแผนรับประทานอาหารจากแพทย์และต้องเข้ารับคำปรึกษาจากเหล่านักโภชนาการ ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
    1. 4 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดนั้น ผู้เข้ารับบริการจะได้รับประทานแต่อาหารเหลวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นซุป ชา กาแฟ ซึ่งจะต้องไม่หวานหรือต้องไม่เติมน้ำตาล และจะต้องมีการจำกัดปริมาณของสารน้ำที่ได้รับในแต่ละครั้งด้วย โดยแพทย์จะแนะนำให้รับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง
    2. 2 สัปดาห์ถัดมา ผู้เข้ารับบริการจะได้รับการจำกัดประเภทของอาหาร โดยแพทย์จะให้รับประทานอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ หลังจากนั้นจะให้รับประทานอาหารปกติ ซึ่งควรรับประทานในปริมาณที่น้อย ๆ โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียดและนานกว่าปกติ ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำพร้อมกับการรับประทานอาหาร ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร 15 – 30 นาที
  • หลังเข้ารับการผ่าตัดจะต้องกลับมาพบแพทย์อีกครั้งเพื่อทำการตรวจเช็คให้ละเอียดอีกครั้ง ปกติแล้วแพทย์จะทำการนัดให้ผู้เข้ารับบริการกลับมาตรวจเป็นระยะ ๆ ซึ่งการใช้ชีวิตและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ เมื่อเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะไปแล้ว โดยจะสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้เข้ารับบริการเป็นหลักด้วยว่ามีการทำตามที่แพทย์แนะนำหรือไม่