หลายคนอาจมีความกังวลในเรื่องของมะเร็งเต้านมที่เกิดในผู้หญิง แต่ทราบหรือไม่ว่าผู้ชายก็เป็นได้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันนี้ผู้หญิงไทยมีแนวโน้มในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นทุกปี และบ่อยครั้งที่คนส่วนใหญ่เข้าพบแพทย์เพราะค้นพบว่าตัวเองคลำเจอ “ก้อนเนื้อ” ไม่เว้นแม้แต่ผู้ชายที่จะคลำพบ “ก้อนเนื้อที่อกผู้ชาย” ได้เช่นกัน
ซึ่งอาการนี้อาจรวมไปถึงอาการที่เกิดจากการเจ็บเต้านม แต่ก็จะมีไม่น้อยที่จะพบว่าไม่เกิดอาการเจ็บแต่อย่างใด ส่งผลให้หลายคนอาจปล่อยปละละเลย เนื่องจากคิดว่าตัวเองไม่เป็นอะไร แต่สุดท้ายแล้วก็พบว่าเป็นเนื้อร้ายที่แสดงอาการลุกลามไปเป็นมะเร็งได้
คลำเจอก้อนเนื้อที่หน้าอก หากไม่รู้สึกเจ็บต้องระวัง
ไม่ว่าจะเป็นหนุ่มหรือสาวที่กำลังมองหาวิธีทำให้หน้าอกใหญ่ แล้วคลำพบก้อนเนื้อที่หน้าอก โดยเฉพาะก้อนเนื้อที่อกผู้ชายแล้วมีลักษณะกลิ้งไปมาได้ แต่ไม่มีอาการเจ็บแต่อย่างใด ให้ระลึกไว้เสมอว่าอาจเกิดโรคกลุ่มหลัก ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ
- ซีสต์เต้านม
- เนื้องอกเต้านม (ไม่ใช่เนื้อร้าย)
- มะเร็งเต้านม
สำหรับซีสต์เต้านม หากคุณสังเกตตัวเองอย่างระมัดระวังและหมั่นคลำหน้าอกหรือเต้านมอยู่ตลอดเวลา กรณีที่เป็นสาว ๆ จะพบว่าซีสต์เปลี่ยนแปลงไปตามรอบเดือน โดยจะโตก่อนรอบเดือนและมีขนาดเล็กลงหลังจากรอบเดือน ส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บปวดที่ก้อนเนื้อ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือเนื้องอกมักจะไม่ค่อยเจ็บหรือไม่แสดงอาการอะไรให้เห็น เป็นที่น่าตกใจว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 90 ไม่มีอาการปวด ดังนั้นผู้หญิงหรือผู้ชายที่รู้สึกมีก้อนเนื้อที่เต้านมแต่ไม่รู้สึกเจ็บควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
ก้อนที่เต้านมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- ถุงน้ำ เมื่อเราอัลตราซาวนด์จะพบว่าถึงนี้ล้อมรอบด้วยเซลล์ของต่อมน้ำนม มันสามารถขยายตัวเองตามฮอร์โมนของเราในรอบประจำเดือน พบได้หลายจุดในเต้านม ซึ่งไม่เป็นอันตราย
- ก้อนเนื้อเต้านม เกิดขึ้นจากเซลล์ต่อมน้ำนมและการแข็งตัวของเนื้อเยื่อ พบได้หลายตำแหน่ง หากไม่โตขึ้น และไม่มีอาการ ก็ต้องคอยติดตามผลของอาการเหล่านี้ ซึ่งอาจก่อตัวเป็นมะเร็งเต้านมในภายหลังได้
- ก้อนเนื้อที่ไม่ปกติหรือก้อนเนื้อที่มีความเสี่ยอาจก่อตัวไปเป็นมะเร็งได้ โดยสังเกตง่าย ๆ ว่ามีความแข็ง และเมื่อสัมผัสจะไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนเนื้อที่หน้าอกหรือเต้านมและมะเร็งเต้านม
สาเหตุที่ผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นทุกปี เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น สภาพแวดล้อม ไม่ว่าสภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงไป อาหารบางประเภท สารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ความเครียดทางจิตใจ และพันธุกรรม ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการดูแลเต้านมหรือหน้าอกอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้ผู้ชายและผู้หญิงสัมผัสหน้าอกขณะอาบน้ำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง
ข้อห้ามหลังเสริมอก หากพบความผิดปกติหรือพบก้อนเนื้อที่เต้านม ควรไปพบแพทย์ภายใน 1-2 สัปดาห์เพื่อวินิจฉัย แยกโรค และวางแผนการรักษาต่อไป สิ่งที่ควรทราบคือมะเร็งเต้านมสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรอง ซึ่งค้นหาโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ เมื่อพบแต่เนิ่น ๆ และดำเนินการรักษามัน ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น
อาการที่เป็นสัญญาณบอกว่าก้อนเนื้อที่อกผู้ชายจะกลายเป็นมะเร็ง
ส่วนใหญ่มักพบก้อนเนื้อที่เต้านมหรือรักแร้ เต้านมได้เปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม หรือขนาดของเต้านมก็จะเปลี่ยน อาจมีน้ำออกมาจากเต้านม หรือสีของหัวนมเปลี่ยนไป สำหรับอาการปวดก็พบว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาการที่เกี่ยวข้องกับก้อนเนื้อ มักไม่ใช่อาการของมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมแบ่งเป็น 3 ระยะ
- ระยะแรก โดยการเริ่มต้นคลำเจอก้อนเล็ก ๆ ที่เต้านม ซึ่งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร
- ระยะลุกลาม จะมีขนาดที่โตขึ้นและอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
- ระยะแพร่กระจาย ซึ่งจะกระจายไปยังตับ ปอด สมอง กระดูก เป็นต้น
ผู้ชายที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
สำหรับผู้ชายที่เสี่ยงจะเป็นมะเร็งเต้านมได้นั้นมักจะอยู่ในช่วงวัย 60 – 70 ปี แต่หากอายุต่ำกว่า 35 ปีนั้นถือว่าเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเนื้อเยื่อเต้านมของผู้ชายจะพัฒนาในระหว่างการใช้ชีวิต จนถึงจุดสะสมปัจจัยต่าง ๆ ที่มากพอจะเป็นมะเร็งได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมในชายได้นั้นจะมีดังนี้
- คนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
- มีประวัติการสัมผัสรังสีที่หน้าอก
- โรคเต้านมโตในผู้ชาย (gynecomastia) หรือภาวะมีเต้านมในผู้ชาย อาจเป็นได้ทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียว ซึ่งอาจเป็นปกติทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายหรือแสดงความผิดปกติในร่างกายหรือจากโรคต่าง ๆ หรือจากการใช้ยาบางชนิด
- มีการใช้ฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน)
- กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่หายาก ซึ่งผู้ชายมีโครโมโซม x เกินมาหนึ่งอันหรือมากกว่า ทำให้ผู้ชายมีภาวะเจริญพันธุ์บกพร่องและความผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ
- เป็นโรคตับแข็ง หรือโรคที่เกี่ยวกับลูกอัณฑะ
วิธีสังเกตความผิดปกติของเต้านม
อาการของโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายคล้ายกับผู้หญิง มักพบเมื่อชายคนหนึ่งสังเกตเห็นหรือคลำเจอก้อนเนื้อที่อกผู้ชายบริเวณเต้านมบวมแล้วจึงไปพบแพทย์ หรือไปตรวจดูว่ามีอาการรุนแรง เช่นมีเลือดออกจากหัวนม เมื่อถึงตอนนั้นมะเร็งอาจลุกลามแพร่กระจายไปแล้ว ดังนั้นควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอ นั่นคือ
- มีก้อนที่เต้านม หรือเต้านมบวมผิดปกติ และไม่รู้สึกเจ็บ
- ผิวหนังบริเวณเต้านมเป็นรอยบุ๋ม หรือมีรอยเหี่ยวย่น
- หัวนมหดตัว หรือหันเข้าด้านใน
- หัวนมหรือผิวหนังบริเวณเต้านม มีรอยแดงและมีขนาดผิดปกติ
- บางครั้งมะเร็งเต้านมสามารถแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้วงแขนหรือรอบ ๆ กระดูกคอ ทำให้เกิดการบวมได้ รวมทั้งมีก้อนบวมที่บริเวณเต้านม อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นจนรู้สึกมีอาการเจ็บ
มะเร็งเต้านมในผู้ชายกับผู้หญิง อันไหนรุนแรงกว่ากัน
หลายคนอาจมีความรู้สึกว่ามะเร็งเต้านมในผู้หญิงนั้นดูน่ากลัว อันตราย แต่รู้หรือไม่ว่าหากเป็นในชายก็จะเหมือนกัน ความรุนแรงนั้นก็จะพอ ๆ กัน แต่ที่แย่ไปกว่านั้นมะเร็งเต้านมในผู้ชายนั้นมักจะพบได้ช้ากว่า เพราะไม่มีใครสนใจ ไม่เคยตรวจเลย ดังนั้นก่อนที่จะตรวจพบก็มักจะเป็นระยะที่ลุกลามไปแล้ว การรักษาก็จะช้ากว่าจึงทำให้ดูรุนแรงกว่า
การวินิจฉัยหรือการตรวจคัดกรอง
- การตรวจด้วยตนเอง ด้วยการคลำที่หน้าอกไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายหากตรวจพบก้อนเนื้อที่อกชายหรือตรวจพบก้อนเนื้อที่เต้านมผู้หญิงให้คิดไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ ให้หมั่นคอยสังเกตอาการ หากพบว่าโตขึ้นผิดปกติให้รีบพบแพทย์
- การตรวจอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงในการคัดกรองหรือตรวจหาก้อนเนื้อ การอัลตราซาวนด์สามารถแยกเซลล์เนื้อเยื่อ ก้อนเนื้อ ถุงน้ำ แต่ไม่สามารถตรวจหาหินปูนที่มีขนาดเล็กมาก ๆ การตรวจในลักษณะนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี
- การตรวจด้วยดิจิตอลแมมโมแกรม (Mammogram)เป็นการใช้รังสีในปริมาณที่ต่ำกว่าอัลตราซาวนด์ สามารถคัดกรองอย่างได้อย่างละเอียดถึงจุดหินปูนที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร ที่มือเราคลำได้ไม่พบ สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 35 ปี หากต้องการตรวจอาจจะรู้สึกเจ็บ เพราะในช่วงวัยนั้นเนื้อผิวยังมีความแน่นตึงอยู่ เมื่อถูกเครื่องกดทับด้วยแมมโมแกรมเพื่อตรวจคัดกรอง อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้
วิธีการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย
การรักษามะเร็งเต้านมในผู้ชายนั้นจะไม่ต่างจากการรักษามะเร็งเต้านมในหญิง ซึ่งวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษา ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
- แพทย์จะทำการผ่าตัดก้อนเนื้อมะเร็ง พร้อมกับตัดเนื้อเยื่อบางส่วนของเต้านมออก
- การฉายแสงหรือฉายรังสีรักษา
- การให้ยาเคมีบำบัด หรือที่ใคร ๆ ก็มักเรียกว่า การให้คีโม (Chemotherapy)
- การใช้ฮอร์โมนบำบัดระยะยาว
ผลการรักษามะเร็งเต้านมในผู้ชาย
ผลการรักษามะเร็งเต้านมขึ้นอยู่กับระยะของโรค หากน้อยก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากผลการรักษามากจะได้ผลไม่ดีเท่าระยะแรก ซึ่งก็จะลดหลั่นกันออกไป อย่างไรก็ตามมะเร็งเต้านมในผู้ชายมักมาช้า เพราะกว่าจะรู้ตัวว่าเป็น หรือกว่าจะยอมมาตรวจ เชื้อมะเร็งก็อาจจะลุกลามหรือกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผลการรักษาอาจไม่ดีเท่าที่ควร หรือไม่ก็อาจจะรักษาไม่หายเลยก็เป็นได้